Resis-Result

ผลการสำรวจหาค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าใต้ดินเป็นแบบไหนนะ?

วันนี้บริษัท Asia Testing Equipment จะพาไปดูผลลัพธ์ของการสำรวจหาค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าใต้ดิน ว่ามันมีลักษณะแบบไหน ตีความจากอะไร สำรวจได้ลึกมั้ย

เกริ่นก่อนว่า การสำรวจหาค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า ด้วยเครื่อง Terrameter LS2 ครั้งนี้ เป็นหนึ่งในโปรเจคของการส่งมอบชุดเครื่องมือวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า Terrameter LS2 แก่กรมทรัพยากรธรณี โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง บริษัท Asia Testing Equipment และ guidelinegeo ซึ่งในงานก็ประกอบด้วย การอบรมการใช้งานเครื่องมือและประมวลผล รวมทั้งการติดตั้งเครื่องมือในสนามเพื่อหาค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าในบริเวณทางหลวงชนบท ต.ท่าเรือ อ. ปากพลี จ. นครนายก เราก็ถือโอกาสนำความรู้ที่ได้มาแชร์กัน

การอบรมประกอบทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ โดยภาคปฏิบัติจะทำการใช้งานเครื่องมือสำหรับสำรวจหาค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า ด้วยเครื่อง Terrameter LS2 สำรวจเก็บข้อมูลแบบ1, 2 และ 3 มิติ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการสำรวจแบบ 2 มิติ มานำเสนอ

   

การสำรวจหาค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบ 2 มิติ ใช้การจัดขั้วอิเล็กโตรดแบบ Gradiant ระยะห่างระหว่างอิเล็กโตรด 5 เมตร โดยทำการสำรวจแบบปกติ 4 เคเบิ้ล Roll along อีก 1 เคเบิ้ล ซึ่งก็คือการขยายแนวสำรวจจากเดิม 420 เมตร เป็น 525 เมตร

Resisnakonh1.png

ใช้เครื่อง Terrameter LS 2 สำรวจแบบ 2 มิติ โดยตัวเครื่องสามารถแสดงผลให้ดูได้แบบ Real time พร้อมทั้งการเชื่อมต่อทางไกลที่ช่วยในการหลบร้อนตอนทำงาน อีกทั้งการระบุพิกัดตำแหน่งภายในตัวเครื่อง ก็เป็นตัวช่วยที่ดีในการเก็บข้อมูลด้วยเครื่อง Terrameter LS 2 โดยการวัดใช้เวลาประมาณ 40 นาที เก็บข้อมูลทั้งค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า (ERT) และค่าศักย์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (IP) พร้อมๆกัน


Resisnakonh2.png

ผลการสำรวจค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า แบบ 2D

ผลการสำรวจแสดงค่าสภาพต้านไฟฟ้าโดยใช้โปรแกรม Res2dinv ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าอยู่ในช่วง 2-30 โอหม์เมตร ลึก 75 เมตร แบ่งได้เป็น 2 ช่วงคือ ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่า 4 โอหม์ แปลความได้เป็นชั้นตะกอนอิ่มตัวด้วยน้ำหรือหินโคลน หนา 0-55 เมตร ส่วนช่วงค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าสูงกว่า 4 โอหม์เมตร แปลความได้เป็นชั้นตะกอน ส่วนผลลัพธ์ของการวัด ค่าศักย์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (IP) แสดงถึงค่าความสามารถในการชาร์ตที่ 1-10 mV/V

Resisnakonh3.png

หลังจากนนั้นนำข้อมูลมาแสดงผลในโปรแกรม Arhus workbench เพื่อสร้างแบบจำลองที่ดูได้แบบ 360 องศาที่แสดงความแตกต่างของพื้นผิวและผลค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าใต้ผิวดิน

Resisnakonh4.png

ทำไมชั้นตะกอนหนาและค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าต่ำ ?

จากข้อมูลและแผนที่สภาพธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ปี 2519 แสดงให้เห็นถึงการสะสมตัวของตะกอนยุควอเทอร์นารีหนา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมแบบ กรวด ทราย และดิน ที่ถูกพัดมาสะสมกันในพื้นที่ราบและหนองน้ำทั่วไป (Floodplain and swamp deposit) ซึ่งส่งผลให้ตะกอนปกคลุมหนาและตะกอนอิ่มตัวไปด้วยน้ำหรืออาจจะเป็นชั้นดินโคลน ทำให้ผลลัพธ์ค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบ 2 มิติ แสดงผลแบบที่เราเห็นนั้นเอง

Resisnakonh5.png

สรุป

ผลการสำรวจด้วยวิธีการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า สิ่งที่ได้จากการสำรวจคือ ภาพตัดขวาง 2 มิติ ที่แสดงทั้งความลึกและแสดงให้เห็น ช่วงค่าสภาพต้านทาไฟฟ้าปรากฏ ซึ่งเราก็ใช้ค่านี้รวมทั้งเฉดสีในการตีความ

อ้างอิง :https://www.dmr.go.th

   

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่