JGHG1W.png

MASW...คืออะไร??

MASW เป็นตัวย่อของ Multichannel Analysis of Surface Waves หรือชื่อภาษาไทยคือ การวัดความเร็วคลื่นผิวแบบหลายช่องสัญญาณ เป็นหนึ่งในวิธีการสำรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน (seismic surveys) จัดอยู่ในการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysics) มีการประยุกต์ใช้ตั้งแต่ปี 1999 เพื่อประเมินความแข็งของพื้นดิน (Ground stiffness ) และโครงสร้างใต้ผิวดิน โดยการวัดความเร็วคลื่นเฉือน (Vs) ของพื้นผิวด้านล่างในรูปแบบ 1 มิติ 2 มิติ และ 3 มิติ นิยมประยุกต์ใช้สำหรับงานธรณีเทคนิค ธรณีวิศวกรรม เพื่อประเมินหาโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ผิวดินและความแข็งแรงของชั้นดิน คอบคลุมความลึกตั้งแต่ 0-30 เมตร

    JGaRuS.gif

วิธีการสำรวจ

วิธีการสำรวจจะใช้ค้อน (source) เป็นตัวกำเนิดคลื่น โดยทุบลงแผ่นรองบนผิวดินเพื่อก่อให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนลงไปใต้ดินทำให้เกิดคลื่น 2 ชนิด คือ คลื่นตัวกลาง (body waves) และคลื่นผิวดิน (Surface waves) การสำรวจแบบ MASW จะสนใจเฉพาะคลื่นผิวดินชนิดคลื่นเรย์ลี เพราะมีคุณสมบัติที่สำคัญที่คลื่นตัวกลางไม่มี นั้นคือคุณสมบัติการกระจายตัวหรือการที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านวัสดุแตกต่างกันทำให้เกิดการกระจายของคลื่นต่างกัน เพื่อนำไปวิเคราะห์โค้งการกระจายตัว (dispersion curve) ของคลื่นผิวดินที่ได้จากการสำรวจ สำหรับใช้ในการวิเคราะห์หาความเร็วคลื่นเฉือน (Vs) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับค่า Young’s และ shear moduli ที่ใช้อธิบายถึงสภาพความยืดหยุ่น การสำรวจเพื่อสร้างภาพตัดขวาง จะต้องเริ่มจากการสำรวจแบบ 1 มิติ ไปทีละตำแหน่งแล้วนำข้อมูลภาพ 1 มิติ เหล่านั้นมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะสร้างเป็นภาพตัดขวาง S-velocity (Vs) แบบ 2 มิติ ที่ประกอบไปด้วยระยะทาง และความลึก


อุปกรณ์ประกอบการสำรวจ

  1. แหล่งกำเนิดคลื่น (Source) เช่น ค้อนปอนด์ หรือ Weight drop ร่วมกับ Trigger สำหรับส่งสัญญาณไปเครื่องบันทึกสัญญาณ
  2. อุปกรณ์รับสัญญาณ (Receiver) คือ 4.5Hz Vertical Geophone
  3. เครื่องบันทึกสัญญาณ (Seismograph) เช่น เครื่อง Terraloc Pro2
  4. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ประมวลผล แบตเตอรี่ภายนอก
JGFrOf.png
   

ข้อดี

  • สำรวจแบบ Vs Profiles 1 มิติ หรือ 2 มิติ ได้อย่างรวดเร็ว
  • เป็นวิธีทดสอบแบบไม่ทำลาย (Non-destructive test method)
  • มีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่มีคลื่นสั่นสะเทือนรบกวนสูง เช่น รถวิ่ง
  • ไวต่อชั้นที่มีความเร็วคลื่นเฉือนต่ำ
  • ใช้เวลาดำเนินการน้อยและสะดวกในการเคลื่อนย้าย
   

การประยุกต์ใช้

  • การประเมินความแข็งของพื้นดิน (Ground stiffness)
  • ประเมินหาโครงสร้างธรณีวิทยาใต้ผิวดินระดับตื้น
  • ใช้ VS30 ตามระบบ NEHRP สำหรับการจำแนกประเภทของดินในแต่ละบริเวณ
  • การสำรวจก่อนการขุดเจาะและเป็นการทดสอบแบบ in-situ testing
  • Bedrock mapping
  • Dam และ Levee investigations
  • Ground improvment QA/QC
  • การประเมินธรณีเทคนิคชั้นใต้ดิน
  • ประยุกต์ใช้ในงานฐานราก
  • การประยุกต์ใช้ในงานถนน
  • การระบุ “Weak zone" ที่อาจเกิดขึ้นและการตรวจสอบความผิดปกติอื่นๆ
  • ใช้งานได้บนพื้นถนน สันเขื่อน หินแข็ง ในสายเคเบิลประเภท Land Streamer
JGMhTu.jpg
   

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่