Ground Penetrating Radar(เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์)

สงสัยหรือเปล่า...มีอะไรอยู่ใต้ดิน???

รายละเอียด

Ground Penetrating Radar(เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์) การสำรวจด้วยเทคนิคทางธรณีวิทยาฟิสิกส์ส่วนใหญ่มักใช้หาวัตถุหรือโครงสร้างที่อยู่ใต้ดินในระดับลึกมากๆแต่ในการสำรวจพื้นดินระดับตื้นก็มีการทำกันอย่างอย่างแพร่หลายด้วยวิธี Ground Penetrating Radar เป็นวิธีการสำรวจทางวิศวกรรมธรณีฟิสิกส์โดยใช้

Ground Penetrating Radar(เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์)

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic Wave) ในการตรวจสอบสภาพใต้ดินในระดับตื่นโดยให้ผลภาพที่มีความละเอียดสูงวิธีการสำรวจด้วยGPR ได้ประสบผลสำเร็จอย่างกว้างขวางในการประยุกต์ใช้งานเพื่อจัดทำแผนที่ของโครงสร้างธรณีวิทยา ตลอดจนถึงเพื่อใช้ตรวจสอบโครงสร้างคอนกรีต GPR เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพ ในการใช้งานสำรวจใต้พื้นดินอย่างละเอียด และยังถูกใช้งานในกระบวนการควบคุมคุณภาพในงานวิศวกรรมก่อสร้าง

Ground Penetrating Radar(เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์)

ตัวอย่าง เช่น ระบบสาธารณูปโภค ที่ในปัจจุบันมักถูกติดตั้งอยู่ใต้ดินอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งในอดีตเมื่อมีการเริ่มการติดตั้งโครงการจะมีการเขียนแผนผังแนวท่อ รวมถึงการติดตั้งป้ายเครื่องหมายแสดงแนวท่อที่ทำการติดตั้ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อมีการซ่อมแซม การขยายและสร้างถนนใหม่ ทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ไม่เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้การที่จะขุดหรือซ่อมแซม จึงจำเป็นต้องมีการขอข้อมูลและการยืนยันแนวท่อหรือวัตถุใต้ดิน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเสียหายที่เกิดจากการขุด หรือการตอกเสาเข็ม ซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะมีมูลค่าความเสียหายที่ค่อนข้างสูง จึงทำการให้การระบุตำแหน่งและการยืนยันแนวของการวางระบบสาธาณูปโภคในชั้นใต้ดินมีความสำคัญมากขึ้น

Ground Penetrating Radar(เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์)

เครื่อง GPR จะสามารถทำการค้นหาวัตถุใต้ผิวดินได้ทั้งแบบโลหะและไม่ใช่โลหะ เช่น ท่อคอนกรีต ท่อเหล็กหรือ วัตถุโบราณ เป็นวิธีการสำรวจหาโครงสร้างธรณีวิทยาของวัตถุใต้ดินหรือโครงสร้างภายในทางวิศวกรรมโยธาที่นิยมใช้กัน อีกทั้งยังเป็น การทดสอบแบบไม่ทำลาย (Non-destructive testing) หรือก็คือแทบไม่ส่งผลต่อพื้นดิน ทั้งเป็นการช่วยลดเวลาและยังมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่นๆ อีกด้วย

Ground Penetrating Radar(เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์)

ข้อดีของการสำรวจด้วยเครื่อง GPR

1.ครอบคลุมพื้นที่การสำรวจได้กว้าง โดยใช้เครื่อง GPR แบบมือลากหรือแบบติดล้อ
2.เก็บข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว
3.ในการสำรวจจะให้ความละเอียดสูง
4.สามารถกำหนดความลึกของการสำรวจได้
5.แสดงผลกราฟฟิกจากการสำรวจได้รวดเร็ว
6.ให้ผลภาพที่มีความละเอียดสูง

ข้อจำกัดของการสำรวจด้วยเครื่อง GPR

1.การเก็บข้อมูลอาจจะล่าช้าในพื้นที่สำรวจที่มีลักษณะภูมิประเทศค่อนข้างลำบาก
2.ความลึกจะถูกจำกัด ในวัสดุที่มีค่าการนำไฟฟ้าที่สูง เช่น ดินเหนียว
3.ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีแนวสายไฟใต้ดิน
4.ไม่เหมาะทำการสำรวจขณะฝนฟ้าคะนอง
5.ไม่เหมาะในการสำรวจใกล้เสาส่งสัญญาณหรือเสาไฟฟ้าแรงสูง จะส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวนขณะทำการสำรวจ ทำให้อ่านแปลความหมายของข้อมูลในการสำรวจไม่ได้

หากสนใจเครื่องมือติดต่อเราได้ที่

2/37 ซ.ประเสริฐมนูกิจ 29 แยก 4 ถนน ประเสริฐมนูกิจ แขวง ลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 10230


Tel./Fax : 0(66)2-553-0809
Email : thammavich@asiatest.co.th


Social Media