รูปภาพ

เทคโนโลยีการสำรวจใต้ผิวดินด้วยคลื่นเรดาร์ในปัจจุบัน

รายละเอียด

เทคโนโลยีการสำรวจใต้ผิวดินด้วยคลื่นเรดาร์ในปัจจุบัน..

           การสำรวจหยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์ หรือ Ground Penetrating Radarเป็นหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมในการสำรวจใต้ผิวดินโดยอาศัยการส่งผ่านคลื่นสัญญาณเรดาร์เพื่อหาตำแหน่งของท่อ โพรง และความหนาของโครงสร้างต่างๆที่อยู่ใต้ผิวดิน เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรือความเสียงหายที่อาจเกิดขึ้นจากการขุดเจาะในการก่อสร้างรวมถึงใช้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของสิ่งก่อสร้าง และด้วยความสามารถของเครื่อง GPR ที่สามารถสำรวจได้รวดเร็ว ไม่ทำลายวัตถุ และสามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ง่าย มันจึงมีประโยชน์อย่างมากที่จะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการสำรวจก่อนการก่อสร้างต่างๆ  ปัจจุบันเครื่องมือ GPR ก็ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อการใช้งาน ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกันว่ามันถูกพัฒนาไปถึงไหน และมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

การประมวลผลข้อมูลการสำรวจด้วย MALA AI

             ผลสำรวจจากเครื่อง GPR มักจะสร้างความยากลำบากต่อการทำความเข้าใจพอสมควรสำหรับมือใหม่หรือผู้ที่สนใจในวิธีสำรวจนี้ และมักจะเกิดคำถามขึ้นเสมอเมื่อเห็นภาพที่ได้จากการสำรวจ ผลของมันตีความถึงโครงสร้างใต้ผิวดินได้อย่างไร ตรงไหนที่เป็นตำแหน่งของท่อ ตรงไหนคือโพรง แน่นอนว่าโดยปกติการวิเคราะห์ผลจะดูจากความผิดปกติที่เกิดขึ้น (Anomaly) เช่น ท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟ ท่อแก๊ส จะแสดงลักษณะคล้ายกับกราฟไฮเปอร์โบล่า เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการสำรวจ ผลที่ได้มักจะมีสัญญาณรบกวนจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆด้วย ส่งผลให้บางครั้งกราฟไฮเปอร์โบล่าที่ได้ไม่ชัดเจนและยากต่อการระบุตำแหน่งสำหรับผู้ใช้งานมือใหม่ แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ผลหาตำแหน่งของไฮเปอร์โบล่าได้ง่ายขึ้น โดยมันสามารถระบุตำแหน่งได้แบบอัตโนมัติขณะทำการสำรวจ ซึ่งเครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้ใช้งานสะดวกอย่างมากสำหรับการวิเคราะห์ผล อีกทั้งระบบ AI ยังช่วยลดขั้นตอนในการประมวลผลได้ด้วย  

             ในอนาคตคาดการณ์ว่า AI จะสามารถวิเคราะห์ผมได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้นเนื่องด้วยมีการออกแบบให้การสำรวจ GPR สามารถจัดเก็บข้อมูลบน cloud ได้ ซึ่งส่งผลให้ AI มีฐานข้อมูลในการวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพการวิเคราะห์ก็จะเพื่มขึ้นด้วยนั้นเอง

 

 

แอพพลิเคชั่นสำหรับควบคุม Controller App

             เครื่องมือ GPR ดั้งเดิม จะมีเครื่องควบคุม (Controller) ของตัวเอง ลักษณะทั่วไปของมันคือมีขนาดใหญ่ เป็นระบบควบคุมด้วยมือ การเชื่อมต่อกับหัวรับส่งสัญญาณด้วยสายเคเบิ้ล บางรุ่นต้องใช้แบตเตอรี่เสริมช่วย ซึ่งลักษณะเหล่านั้นเป็นคุณสมบัติที่ไม่สะดวกต่อการใช้งานเพราะทำให้เกิดความยุ่งยากในการประกอบติดตั้งเครื่องมือในการสำรวจ

             ปัจจุบันการควบคุมการสำรวจ GPR ถูกพัฒนาไปในรูปแบบแอพพลิเคชั่นที่สามารถติดตั้งบนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ส่งผลให้เครื่องมือ GPR สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมากเพราะเครื่องควบคุมมีขนาดเล็กลง ทำให้สะดวกต่อการพกพาหรือง่ายต่อการเคลื่อนย้ายในสำรวจ นอกจากนั้นมันยังมีมีระบบควบคุมเป็นแบบสัมผัส และการเชื่อมต่อเป็นแบบไร้สายอีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวมาทำให้การประกอบติดตั้ง การเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้นมาก สามารถที่จะดำเนินการขั้นตอนเหล่านั้นให้เสร็จในขณะดำเนินการสำรวจได้ และในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนรุ่นตัวควบคุมก็สามารถทำได้ในราคาที่ไม่สูงเหมือน GPR รุ่นก่อน

 

ซอฟต์แวร์สำหรับการประมวลผล MALA

               การประมวลผล GPR ในรุ่นดั่งเดิม ส่วนใหญ่จะดำเนินการบนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดค่า Geometry การกรองสัญญาณรบกวน การสร้างโมเดล 3 มิติ เป็นต้น ซึ่งขั้นตอนเหล่านั้นค่อนข้างมีความซับซ้อน แต่ปัจจุบันขั้นตอนเหล่านั้นถูกจัดรูปแบบให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นบนแอปพลิเคชั่น เพียงเลือกคำสั่งกการกรองสัญญาณที่ต้องการ ตัวแอปฯ ก็จะประมวลผลโดยอัตโนมัติและแสดงผลทันที  นอกจากนั้นด้วยตัวซอฟต์แวร์สามารถทำงานบน cloud ทำให้สามารถที่จะส่งออกผลไปวิเคราะห์ผลที่อื่นได้ด้วย

 

การออกแบบตัวเครื่อง

              เครื่องมือ GPR รุ่นใหม่โดยเฉพาะรุ่นที่ใช้สำหรับงาน Utility ส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการใช้งานโดยตัวเครื่องพับเก็บได้ง่าย สามารถจัดเก็บและติดตั้งเครื่องให้พร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นขนาดตัวเครื่องก็มีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบา ผู้ใช้งานสามารถที่จะปฏิบัติงานคนเดียวได้อีกด้วย 

 

 

กดดูรายละเอียดเครื่องมือ